บทนำ



บทนำ
ความสำคัญของโครงการอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของจังหวัดสมุทรปราการ และของชาติไทยในทุก ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ศึกษาความเป็นมาของจังหวัดสมุทรปราการ และความเป็นมาของชาติไทย ด้วยความภาคภูมิใจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการอีกทางหนึ่งด้วย
ประเด็นที่มาโครงการ (Problem Issues)
จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ที่มี
ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอยู่ในลำดับต้นๆจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและใหญ่กว่า 7,500 โรงงาน จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทุกสารทิศต่างเข้ามาประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก จนในปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของการสร้างานให้แก่ประชากรของชาวจังหวัดสมุทรปราการ และที่เป็นประชากรแฝง นอกจากนี้แล้วจังหวัดสมุทรปราการ ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ “ สุวรรณภูมิ ” ซึ่งเปรียบเสมือนประตูเมืองที่เปิดให้ผู้คนทั่วโลกเดินทางผ่านเข้าออกปีหนึ่งๆหลายสิบล้านคน
ดังจะเห็นได้ว่าจังหวัดสมุทรปราการนั้น เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศ จังหวัดสมุทรปราการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาจังหวัดให้ครอบคลุมทุกๆด้าน ให้มีความพร้อมต่อความก้าวหน้าทางด้านการศึกษา เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ความเป็นสากล
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ขนาดใหญ่ จึงเน้นแนวทางในการบริหารงานส่วนท้องถิ่น โดยการพัฒนาเมืองให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาประชากรของเมืองให้มีคุณภาพ อันเป็นหัวใจสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องวางรากฐานทางการเรียนรู้ตั้งแต่ในวัยเด็ก ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก และการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับประชาชนทั่วไป
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการจึงได้จัดทำโครงการอุทยานการเรียนรู้และ
หอชมเมืองสมุทรปราการขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งรวมประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของจังหวัดสมุทรปราการ และของชาติไทยในทุก ๆ ด้าน เป็นต้นว่า การค้าขาย เศรษฐกิจ การเมือง สังคม
ไว้ในอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้ศึกษาความเป็นมาของจังหวัดสมุทรปราการ และความเป็นมาของชาติไทย ด้วยความภาคภูมิใจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการอีกทางหนึ่งด้วย
1). ประเด็นที่มาโครงการด้านหน้าที่ใช้สอยโครงการ (Function Issues)
เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ความเป็นสากลนั้น ต้องพัฒนาเมืองให้เติบโตควบคู่ไปกับการ
พัฒนาประชากรของเมือง ให้มีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องวางรากฐานทางการเรียนรู้ตั้งแต่ในวัยเด็ก ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและการพัฒนาพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับประชาชน
2). ประเด็นที่มาโครงการด้านรูปแบบ (Form Issues)
โครงการอุทยานการเรียนรู้และหอชมเมืองสมุทรปราการ เป็นสถาปัตยกรรมเชิงสื่อสัญลักษณ์ในแนวตั้ง (Vertical Landmark) สร้างเพื่อบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงออกเป็นเชิงสัญลักษณ์ของเมือง (Landmark) และเป็นศูนย์รวมสำหรับทำกิจกรรมของเมืองด้วย
3). ประเด็นที่มาโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Issues)
เป็นแหล่งท่องเที่ยวสถานที่ใหม่ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
สร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดและช่วยประชาชนสร้างอาชีพอีกทางหนึ่งด้วย
4). ประเด็นที่มาโครงการด้านเทคโนโลยี (Technology Issues)
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีการสื่อสารที่ทันสมัย สามารถเชื่อมต่อกันได้
ทั่วโลก ด้วยลักษณะทางกายภาพของรูปแบบโครงการที่เป็นลักษณะอาคารสูง จึงมีความเหมาะสมที่จะให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการสื่อสาร
วัตถุประสงค์การศึกษา (Objectives of Study)
                        1). เพื่อศึกษาบริบทสภาพแวดล้อมของเมืองและชุมชนโดยรอบที่เกี่ยวข้อง
                        2). เพื่อศึกษาศักยภาพของพื้นที่ตั้งโครงการและการวางผังแม่บทที่สัมพันธ์กับศักยภาพ
                        3). เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรม กิจกรรม รูปแบบที่เหมาะสมกับโครงการ และบริบทโดยรอบ
            4). เพื่อศึกษากลุ่มเป้าหมายโครงการและกิจกรรมต่างๆ ให้สัมพันธ์กับการใช้งานและ
                        ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
                        5). เพื่อศึกษาเทคโนโลยี และระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
                        6). เพื่อศึกษาการจัดทำรายละเอียดโครงการ และกระบวนการขั้นตอนในการออกแบบ                  อย่างเป็นระบบ 
                        และมีความสัมพันธ์กันในทุกขั้นตอน
ขอบเขตการศึกษา (Scope of Study)
           1). ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับเมืองและชุมชนโดยรอบ สภาพแวดล้อม แนวทางการออกแบบ
                        ให้สอดคล้องกับข้อมูล และการวิเคราะห์
           2). ศึกษาศักยภาพของทำเลที่ตั้งและการวางผังแม่บทให้สอดคล้องกับศักยภาพที่ศึกษา
           3). ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงกิจกรรมโครงการ ให้มีความเหมาะสมกับความ
             ต้องการและสัมพันธ์กับบริบทโดยรอบ
           4). ศึกษากรณีศึกษา ที่มีความใกล้เคียงในด้านกิจกรรม องค์ประกอบ รวมถึงรูปแบบและ
             ความสัมพันธ์ของการใช้งาน
           5).เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและระบบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
ขั้นตอนการศึกษา (Methodology of Study)
                        การศึกษาและวิเคราะห์ (Study & Analysis)
                        1). ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงบริบทและ
             สภาพแวดล้อม
                        2). ศึกษากลุ่มเป้าหมาย พฤติกรรม กิจกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (User)
            3). ศึกษาโครงการใกล้เคียง เพื่อกำหนดรูปแบบ องค์ประกอบ กิจกรรมและเทคโนโลยี
              ระบบต่างๆที่เหมาะสมกับโครงการ (Case Study)
            4). ศึกษาศักยภาพของทำเลที่ตั้งโครงการ และแนวทางการพัฒนาผังพื้นที่ ให้มี
              ความสัมพันธ์กับศักยภาพและสภาพแวดล้อม (Location)
                        5). ศึกษาที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของที่ตั้งโครงการ (Site)
                        6). ศึกษาวิเคราะห์ที่ว่างการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของกิจกรรมภายในที่        ว่าง(Space)
                        7). สรุปข้อมูลโครงการ จัดทำโปรแกรมเพื่อนำไปใช้การออกแบบ (Program)
                        การพัฒนาการออกแบบ (Design Development)
                        8). กำหนดแนวความคิดในการออกแบบ (Conceptual)
                        9). กำหนดผังแม่บททำเลที่ตั้งโครงการ ตามศักยภาพ (Master Plan)
                        10). กำหนดเขตของแบบ (Zoning)
                        11). เสนอแบบร่างข้างต้น (Schematic Design)
                        12). พัฒนาแบบ (Design Development)
                        13). งานออกแบบขั้นตอนสุดท้าย และนำเสนอผลงาน (Product & Presentation)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น