บทที่ 2

บทที่ 2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ (Facts)

อุทยานการเรียนรู้ และหอชมเมืองสมุทรปราการ เป็นโครงการที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนใน
จังหวัด และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของเมืองและประเทศ
ซึ่งโครงการนี้มีโนโยบายที่จะทำอยู่แล้ว จึงตั้งใจที่จัดทำโครงการนี้เพื่อเป็นข้อชี้แนะ ดังนั้น
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล จะอ้างอิงจากการสัมภาษณ์และสอบถาม ข้อมูลกิจกรรมของโครงการ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ประกอบกับข้อมูลต่าง ๆ ที่มาจากการลงพื้นที่ และอ้างอิงมาจากกรณีศึกษาที่มีความใกล้เคียง แล้วจึงนำข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้นมาวิเคราะห์ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Facts)
ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย เป็นการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของการ
ใช้งานกับกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้น และตารางเวลาที่เกิดขึ้น ประกอบไปด้วย
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ (Users)
โครงสร้างองค์กร (Authority Structure)
ลักษณะขององค์กรของโครงการ เป็นการศึกษาด้านการบริหารและจัดการภายใน
องค์กรของโครงการ โดยการแสดงในรูปของผังโครงสร้างองค์กร (Organization Chart) และต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนมีรายละเอียดดังนี้
1). หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โครงการเป็นส่วนหนึ่งในในความรับผิดชอบของ
จังหวัดสมุทรปราการ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการใน ฐานะผู้วางนโยบาย ผังแม่บท เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการกำหนดรูปแบบ นโยบายของการทำโครงการ
2). หน่วยงานภายในองค์กร เป็นการดูแลของภาครัฐบาล ให้มีความสอดคล้องตาม
นโยบาย ที่วางไว้ดังกล่าวซึ่งสามารถสรุปออกมาได้ในรูปแบบผังโครงสร้างองค์กร (Organization Chart) ได้ดังนี้
ภาพที่ 2.1 แสดงผังโครงสร้างองค์กรของโครงการ

ปริมาณผู้ใช้โครงการ (Number of User)
จำนวนผู้ใช้โครงการ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1). กลุ่มผู้ใช้หลัก คือ กลุ่มประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้มาจาก
การหาจากโครงการใกล้เคียง ในลักษณะของสถิติการใช้งาน ซึ่งอ้างอิงจำนวน
จากเป้าหมายโครงการ โดยมีจำนวนผู้ใช้ทั้งโครงการต่อวัน 1,245 คนต่อวัน (รวมทั้ง
กลุ่มผู้ใช้หลักและรอง) โดยมีการกำหนดสัดส่วนของกลุ่มผู้ใช้หลัก ร้อยละ 60 ของจำนวนผู้ใช้โครงการทั้งหมด ดังนั้น มีจำนวนผู้ใช้หลักเฉลี่ย 1,245 x 60 /100 =  747 คนต่อวัน
2). กลุ่มผู้ใช้รอง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศและ
ต่างประเทศ โดยมีการกำหนดสัดส่วนจากจำนวนผู้ใช้โครงการทั้งหมด จากเป้าหมายโครงการ โดยมีจำนวนผู้ใช้ทั้งโครงการต่อวัน 1,245 คนต่อวัน (รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้หลักและรอง) โดยมีการกำหนดสัดส่วนของกลุ่มผู้ใช้รอง ร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ใช้โครงการทั้งหมด ดังนั้น มีจำนวนผู้ใช้รองเฉลี่ย 1,245 x 40 /100 =  498 คนต่อวัน
3). กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่โครงการ คือ กลุ่มที่ทำงานให้กับ
โครงการ รวมถึงดูแลบริการผู้ใช้หลักและรอง โดยจำนวนผู้ใช้กลุ่มนี้จะเป็นการกำหนด ตามผังโครงสร้างองค์กร
ตารางที 2.1 แสดงการสรุปจำนวนและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โครงการ


ลักษณะของผู้ใช้ (User Characteristics)
เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ ของกลุ่มผู้ใช้ ด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคมของผู้ใช้
โดยผู้ใช้โครงการอุทยานการเรียนรู้ และหอชมเมืองสมุทรปราการ  มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการออกเป็น 3 ประเภท โดยดังนี้
      ·       กลุ่มประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ
      ·       กลุ่มนักท่องเที่ยว
      ·       กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่
ซึ่งสรุปลักษณะออกมา 3 ด้านได้ดังนี้
1). ทางกายภาพ (Physical)
·       กลุ่มประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ใน
จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่จำกัดอายุ เพศ และลักษณะทางร่างกาย รวมถึงคนพิการ
·       กลุ่มนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
โดยไม่จำกัดอายุ เพศ และลักษณะทางร่างกาย รวมถึงคนพิการ
·       กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่ เป็นกลุ่มคนทางาน อายุตั้งแต่ 20 ปี
ขึ้นไปไม่จำกัดเพศ สภาพร่างกายและสุขภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
2). ทางจิตวิทยา (Psychological)
·       กลุ่มประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ มีความสนใจในการทำกิจกรรมด้าน
ต่างๆ หรือกิจกรรมที่ตนเองสนใจ รวมไปถึงความต้องการพักผ่อน และการท่องเที่ยว
·       กลุ่มนักท่องเที่ยว มีความสนใจในการท่องเที่ยว พักผ่อน รวมไปถึงสนใจ
ในการทำกิจกรรมต่างๆ
·       กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่ เป็นกลุ่มทำงานที่สนใจโครงการ และ
การทำงาน รวมไปถึงมีใจรักในงานบริการ
3). ทางสังคม (Social)
·       กลุ่มประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ ชอบกิจกรรมที่สนใจส่วนตัว โดย
กล้าแสดงออกในที่สาธารณะชน หรือการเข้ามาทำกิจกรรมเป็นกลุ่มกับเพื่อน
ครอบครัว หรือผู้คนจำนวนมากๆ
·       กลุ่มนักท่องเที่ยว ชอบและสนใจในสถานที่ท่องเที่ยว การพักผ่อน หรือกิจกรรม
ที่สนใจโดยมีความต้องการเข้ามาทากิจกรรมส่วนตัว ครอบครัว หรือกลุ่มคน
·       กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่ รักการปฏิบัติงานและทำงานในลักษณะ
ระบบองค์กร มีการจัดการทำงานเป็นระบบ
2.1.2 กิจกรรม (Activities)
เป็นการศึกษากิจกรรม และรูปแบบ รวมถึงพฤติกรรมต่างๆของกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใน
โครงการ แต่ละองค์ประกอบซึ่งสามารถแบ่งหัวข้อได้ดังนี้
ประเภทของกิจกรรม (Types of Activity)

ตารางที่ 2.2 แสดงประเภทของกิจกรรมและจำนวนผู้ใช้

รูปแบบพฤติกรรมผู้ใช้ (User’s Behavioral Patterns)
โครงการมีการแบ่งรูปแบบพฤติกรรมการใช้งาน ตามกลุ่มผู้ใช้โครงการ 2 กลุ่มดังนี้
1). เข้ามาทำกิจกรรม ศึกษาหาข้อมูล พักผ่อน และนันทนาการ
 ·      กลุ่มประชาชนคนในจังหวัดสมุทรปราการ
 ·      กลุ่มนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
         โดยมีรูปแบบพฤติกรรมดังนี้
ภาพที่ 2.2 แสดงรูปแบบพฤติกรรมผู้ใช้ กลุ่มประชาชนและนักท่องเที่ยว

2). ดูแลบริหาร และทำงานให้กับโครงการ
·      กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่โครงการ โดยมีรูปแบบพฤติกรรมดังนี้

ภาพที่ 2.3 แสดงรูปแบบพฤติกรรมผู้ใช้ กลุ่มผู้บริหาร พนักงาน และเจ้าหน้าที่โครงการ

พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม (Behavior & Environment)
จากการศึกษาด้านกิจกรรม จึงมีการกำหนดสภาพแวดล้อมการทำกิจกรรม ที่มีความ
ต้องการและไม่ต้องการ เพื่อตอบสนองต่อกิจกรรมการใช้งาน ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ตารางที่ 2.3 แสดงพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม

2.1.3 ตารางเวลาโครงการ (Time Schedule)
ตารางแสดงถึงระยะเวลาปฏิบัติการของแต่ละองค์ประกอบของโครงการ โดยโครงการเป็น
ลักษณะของแหล่งการเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว โครงการจึงมีการเปิดทำการทุกวัน โดยตารางเวลากำหนดเพื่อระบุเวลาทำการ และเวลาทำงาน ซึ่งมีรายละเอียดของตารางดังนี้

แผนภูมิที่ 2.1 แสดงตารางช่วงเวลาการทำงานในโครงการ

2.2 ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ (Form Facts)
เป็นการศึกษาหาข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้ง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับ
ตำแหน่งของโครงการ รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโครงการ ที่เป็นปัจจัยในการออกแบบเพื่อผลทางสุนทรียภาพและจิตวิทยาของผู้ใช้ ซึ่งประกอบไปด้วย
2.2.1 ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม (Site and Environment)
เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของโครงการที่จะนำมาเป็น
หลักเกณฑ์ในการเลือกที่ตั้งโครงการ (Criteria for Site Selection) โดยมีการเลือกหัวข้อที่เหมาะสมต่อที่ตั้งโครงการ ตามความเหมาะสมและจากการศึกษาจากกรณีศึกษา ดังนี้
1). การใช้ที่ดิน (Land Cost) มีผลต่อโครงการปานกลาง เนื่องจากต้องคำนึงถึงผัง
การใช้ที่ตั้งโครงการในผังแม่บท รวมไปถึงการใช้ที่ดินข้างเคียงและการใช้ที่ดินเดิมซึ่งมีผลต่อการปรับปรุง
2). ความสะดวกในการเข้าถึง (Accessibility) มีผลต่อโครงการปานกลางเนื่องจาก
สะดวกในการเดินทางของกลุ่มผู้ใช้มายังโครงการ รวมไปถึงการขนส่งด้วย แต่สามารถสร้างทางเข้าใหม่ได้
3). สภาพแวดล้อมโดยรอบบริเวณ (Surrounding) มีผลต่อโครงการมาก เนื่องจาก
เป็นการสร้างจุดเด่น และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับโครงการ เป็นการส่งเสริมทัศนียภาพโครงการ
4). ทิวทัศน์ (View) มีผลต่อโครงการมาก เนื่องจากการใช้สอยกิจกรรมโครงการ เน้น
จุดขายด้านนี้ ซึ่งเป็นการเน้นมุมมองบริเวณโดยรอบโครงการค่อนข้างมาก
5). การมองเห็นที่ตั้งและลักษณะเชื้อเชิญ (Approach & Invitation) เป็นจุดเน้นของ
โครงการ และที่ตั้งมากที่สุด เนื่องจากโครงการเป็นลักษณะของสื่อสัญลักษณ์(Landmark) โดยศึกษาจากลักษณะของโครงการที่เป็นลักษณะของจุดหมายตา ซึ่งจะมีความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เพราะให้เกิดการจดจำโครงการได้ดี
6). ความสัมพันธ์กับโครงการที่เกี่ยวข้อง (Linkage) มีผลต่อโครงการปานกลาง โดย
โครงการใกล้เคียงจะมีผลต่อการเชื่อมโยงกิจกรรมของกลุ่มผู้ใช้ และการได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างโครงการในหลายด้านๆ เช่น มุมมอง กิจกรรม เป็นต้น

ตารางที่ 2.4 แสดงสรุปความสำคัญของหลักเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

2.2.2 จินตภาพโครงการ (Site and Environment)
เป็นการศึกษาลักษณะปรากฏออกมาภายนอก ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง สีสัน เส้นสาย
ลวดลาย วัสดุ หรือจะเป็นองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ดังนี้
1). จินตภาพภายนอก (External Image)
เป็นลักษณะที่ปรากฏภายนอกอาคาร เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์แนวความคิด และวิธีการจัดการ การออกแบบ ซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้
·       รูปร่าง/รูปทรงอาคาร (Configuration/Form)
เป็นลักษณะของรูปทรง ที่เกิดจากเอกลักษณ์ของที่ตั้ง ซึ่งสะท้อนออกมาใน
ลักษณะของงานสถาปัตยกรรม โดยมีลักษณะของสถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ในแนวตั้ง  (Vertical Landmark) รวมไปถึงเพื่อการจดจำงานสถาปัตยกรรมและเอกลักษณ์ของที่ตั้งได้ และเพื่อได้ประโยชน์ในการมองเห็นโครงการและเชื้อเชิญ (Approach & Invitation)
·      ลักษณะ (Characteristic)
ลักษณะงานสถาปัตยกรรมแสดงถึงความเป็นสมัยนิยม (Trend) เป็นสากลแต่
ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ที่ตั้ง และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับสถาปัตยกรรมโครงการเองด้วย

ภาพที่ 2.4 แสดงจินตภาพภายนอก เรื่องรูปร่าง/รูปทรงอาคาร และลักษณะ

·       รูปแบบ & สไตล์ (Style)
สไตล์ของของงานเป็น รูปแบบสถาปัตยกรรมในอนาคต (Futurism Architecture)
เพื่อให้เกิดความทันสมัย แต่ยังคงแฝงไปด้วยสไตล์ความเป็นไทยเข้าไป เกิดรูปแบบ
สถาปัตยกรรมที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และดูไม่ล้าสมัย

ภาพที่ 2.5 แสดงจินตภาพภายนอก เรื่องรูปแบบ และสไตล์

2). จินตภาพภายใน (Internal Image)
เป็นลักษณะที่ปรากฏภายในอาคาร โดยมีการพิจารณาเรื่อง ดังนี้
·       ลักษณะและคุณภาพของที่ว่าง (Character and Quality of Space)
ที่ว่างภายในอาคารมีลักษณะ ความรู้สึกต่อที่ว่าง และการรับรู้เชื่อมต่อกับ
แนวความคิด ที่ว่าง และลักษณะทางกายภาพภายนอก มีการเชื่อมโยงกิจกรรม
ภายนอกและภายใน
·       การใช้แสงในโครงการ (Lighting)
มีการใช้แสงที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละส่วน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ
ใช้งาน ที่ว่าง และสร้างคุณภาพ ความสวยงามให้กับที่ว่าง รวมไปถึงการคำนึงถึงสภาพทิศทางของแสง เพื่อให้เกิดนามาใช้ประโยชน์ โดยประหยัดพลังงาน

ภาพที่ 2.6 แสดงจินตภาพภายใน เรื่องลักษณะและคุณภาพของที่ว่าง และการใช้แสง

·       จังหวะหรือลำดับ (Rhythm/Order/Hierarchy)
การใช้ลักษณะองค์ประกอบในกิจกรรมภายในที่ว่าง ให้เกิดลาดับการใช้งานใน
แต่ละส่วน เนื่องจากโครงการมีรูปแบบการใช้งานที่หลายประเภท และใช้ที่ว่างที่เป็น
ลักษณะส่วนกลางเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งแสดงออกมาใน
ลักษณะของที่ว่าง ขนาดที่แตกต่างกัน หรือกิจกรรมภายใน หรือใช้จุดอ้างอิงต่างๆ
(Point of Reference) เพื่อให้เกิดการรับรู้การใช้งาน และกำหนดทิศทางในการใช้งาน
2.3 ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Facts)
เป็นการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน โดยโครงการเป็นโครงการที่ต้องใช้
งบประมาณในการลงทุนสูง เนื่องจากลักษณะกายภาพที่เป็นอาคารสูง และต้องใช้เทคโนโลยีประกอบอาคารและกิจกรรมภายในที่ค่อนข้างทันสมัย จึงมีการกำหนดจากความเป็นได้ในการลงทุน ตามเป้าหมายโครงการที่วางเอาไว้
2.3.1 การลงทุนของโครงการ (Total Project Investment)
แหล่งที่มาของเงินทุน (Source of Investment)
แหล่งเงินทุนเป็นของภาครัฐบาล เนื่องจากโครงการเป็นขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดสมุทรปราการ รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดิน และเป็นผู้วางนโยบายการใช้ที่ดิน
งบประมาณโครงการ (Budget)
1). ค่าก่อสร้าง (Building Cost) เนื่องจากโครงการเป็นโครงการสร้างจริง จึงมี
งบประมาณดำเนินการไว้แล้ว อีกทั้งโครงการเป็นลักษณะของอาคารสูง และมีหลายส่วน
ที่ต้องมีการใช้เทคโนโลยีพิเศษ ทั้งโครงสร้างและงานระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง
ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 525,000,000 บาท
2). ราคาที่ดิน (Land Cost)
เนื่องจากที่ดินเจ้าของเป็นรัฐบาล จึงไม่ต้องคำนวณหาค่าใช้จ่ายของราคาที่ดิน
3). ค่าใช้จ่าย (Costs)
·       ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ  เป็นค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากงบประมาณ
การก่อสร้าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดสวนและงานตกแต่งภูมิทัศน์ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โปรโมทโครงการ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ
·       ค่าใช้จ่ายหลังเปิดดำเนินการ โดยรายรับจะมาจากการเข้ามาศึกษาแหล่ง
เรียนรู้ต่างๆของโครงการ ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยว และมีรายจ่ายมาจาก ค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานและหน้าที่ ค่าใช้จ่ายรายเดินของระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ บำรุงอาคาร และภูมิทัศน์
2.4 ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (Technology Facts)
เป็นการศึกษาข้อมูลรายละเอียดของการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริง และสามารถนำมาวิเคราะห์เลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
2.4.1 ระบบประกอบอาคาร (Building System)
เป็นงานระบบพื้นฐานของโครงการ ที่ได้ทำการศึกษารายระเอียด และสรุปเนื้อหาเพื่อให้
เป็นตัวเลือกในการใช้กับโครงการตามความเหมาะสมต่อไป มีดังนี้
1). ระบบโครงสร้าง (Structure)
·       ระบบชิ้นส่วนโครงสร้างอาคารสำเร็จรูป (Prefabrication System)
โดยเป็นรูปของชิ้นส่วนจากโรงงาน ซึ่งง่ายต่อการก่อสร้าง ประหยัดระยะเวลาและ
คนงานในการก่อสร้าง โดยจากกรณีศึกษาส่วนใหญ่ มีการใช้ระบบนี้ โดยเฉพาะระบบชิ้นโครงสร้างเหล็ก ซึ่งเหมาะกับส่วนโครงสร้างสาหรับอาคารสูง
·       ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete)
จากกรณีศึกษา จะใช้ในส่วนของฐานรากและส่วนที่ติดกับพื้นดิน เนื่องจากช่วย
ป้องกันเรื่องของความชื้นได้ดี รวมไปถึงใช้เป็นแกนของอาคารสูง ซึ่งได้ผลดีกว่าโครงสร้างเหล็กเนื่องจาก กรณีศึกษาส่วนใหญ่จะมีการวางห้องน้ำ หรือส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับงานระบบสุขาภิบาล
·       ระบบโครงสร้าง Long Span
เนื่องจากโครงการมีการใช้งานหน้ากว้าง หลายการใช้งาน จึงมีการคำนึง
โครงสร้างที่มารองรับส่วนที่เป็นหลังคาที่มีความกว้าง โดยกรณีศึกษา มีการใช้หลายรูปแบบ เช่นระบบ Truss หรือระบบโครงข้อหมุนสามมิติ Space Frame

ภาพที่ 2.7 แสดงระบบโครงสร้างอาคาร
ที่มา : https://www.google.co.th

2). ระบบปรับอากาศ (Air-Conditioning)
·       ระบบปรับอากาศ Central System
เหมาะสมกับโครงการ เนื่องจากเครื่องอยู่รวมในจุดเดียวกัน ง่ายต่อการดูแลรักษา
ไม่มีเสียงบริเวณปรับอากาศ แต่เสียค่าใช้จ่ายต้นทุนและการดูแลสูง โดยมี 2ระบบ คือระบายความร้อนด้วยน้ำ และระบายความร้อนด้วยอากาศ
·       ระบบปรับอากาศ VRV System
หรือระบบ Variable Refrigerant Volume ระบบปรับอากาศชนิดนี้ คือระบบปรับ
อากาศ แบบ Split Type ขนาดใหญ่โดยได้คงส่วนดีของระบบ Split Type เดิมไว้ แล้วเพิ่มความสามรถใหม่เข้าไปในระบบอีกหลายอย่าง เพื่อให้ระบบนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานสะดวก และ ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าระบบ Sprite Type เดิม มีการพัฒนาให้ท่อน้ำยาเดินไปได้ไกลขึ้น

ภาพที่ 2.8 แสดงระบบปรับอากาศ VRV System
ที่มา : สื่อนำเสนอการสอน วิชาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อม โดย ดร.ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์

3). ระบบไฟฟ้ากำลังและสำรอง (Electricity)
·       ระบบไฟฟ้ากาลังแบบ Sub-Station
เป็นระบบที่เหมาะสมกับโครงการที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากต้องการใช้ไฟฟ้าเป็น
จำนวนมาก และระบบนี้สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย เพราะเป็นของเฉพาะที่ใช้ในโครงการ
·      ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
มีอยู่ด้วย 2 ระบบ คือ ระบบดีเซล เหมาะกับระบบไฟฟ้าสำรองของโครงการ
ทั้งหมด ไปยังส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัย และระบบป้องกันอัคคีภัยของโครงการ หรือ ระบบแบตเตอรี่ ใช้กับระบบแสงสว่าง ชั่วคราวขณะไฟดับ
4). ระบบสุขาภิบาล (Sanitary)
·      ระบบน้ำประปา
เป็นระบบ Up and Down Feed System โดยเป็นระบบผสมกัน เพื่อความ
สมบูรณ์ และสะดวกต่อระบบการจ่ายน้ำของทั้งโครงการ เพราะระบบนี้จะมีถังเก็บน้ำ 2 จุด ทั้งบริเวณบนและใต้อาคาร เนื่องจากอาคารมีลักษณะขนาดใหญ่ประกอบกับมีความสูง
·      ระบบบำบัดน้ำเสีย
เป็นระบบ Aerobic Treatment เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับโครงการมาก
ที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ใช้เนื้อที่ในการก่อสร้างน้อย โดยเหมาะสมกับอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง โดยมีหลักการคือ เติมจุลชีพลงไป เพื่อย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำเสียที่เป็นตะกอน โดยน้ำเสียที่บำบัดแล้วจะไหลลงสู่ท่อสาธารณะ
5). ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication System)
·      ระบบโทรศัพท์
PABX เป็นระบบที่นำมาใช้ภายในองค์กรของโครงการ เนื่องจากเป็นระบบที่เป็น
การจำลองชุมสายโทรศัพท์ และกระจายตามหน่วยย่อยภายในโครงการ ซึ่งจะเป็นการจัดการควบคุมส่วนต่างๆของโครงการ และประหยัดกว่าระบบโทรศัพท์ปกติ
·      ระบบอินเตอร์เน็ต
เป็นการใช้ระบบไร้สาย Internet-Wireless ซึ่งครอบคลุมในระยะสัญญาณใน
ระยะใกล้ และมีการควบคุมสัญญาณได้ ประหยัดการใช้สายสัญญาณ และการดูแลรักษา เน้นการใช้งานภายในองค์กร และผู้ใช้โครงการ และระบบ Wi-Fi สำหรับการกระจายสัญญาณระยะไกล ครอบคลุมโครงการและบริเวณโดยรอบ
·      ระบบกระจายเสียง
โดยเป็นการกระจายเสียงไปยังส่วนต่างๆ โดยมาจากส่วนประชาสัมพันธ์ เพื่อ
อำนวยความสะดวก ด้านการประกาศข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ แก่คนในองค์กรและกลุ่มผู้ใช้โครงการ
6). เทคโนโลยีพิเศษเฉพาะโครงการ (Specific Technology)
โดยโครงการมีการใช้เทคโนโลยีเฉพาะในส่วนของศูนย์การกระจายคลื่นสัญญาณวิทยุ
โทรทัศน์ ซึ่งเป็นการใช้งานเทคโนโลยีที่สำคัญ และต้องมีการศึกษารายละเอียดเทคโนโลยีดังกล่าว
·      ระบบการกระจายคลื่นสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
(Television Signal Distribution System)
ICS Telecom nG เป็นโปรแกรมสำหรับการวางแผนโครงข่ายโทรคมนาคมหรือ
โครงการทางด้านการออกอากาศวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล โดยโปรแกรมมีความสามารถในการคำนวณและวางแผนการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณ รวมทั้งจำลองการใช้งานสัญญาณความถี่ในการออกอากาศ หรือใช้วางแผนภายในโครงการสื่อสารโทรคมนาคม
·      ระบบผนังสื่อ (Media Wall)
LED Wall ผนังสื่อจากหลอด LED ซึ่งมีการควบคุมลักษณะของภาพที่นำเสนอ
ผ่านระบบคอมพิวเตอร์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น