บทที่ 3

บทที่ 3
แนวความคิดโครงการ (Concept)

แนวความคิดโครงการ คือความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสำคัญ มี
ประโยชน์ มีกลไก มีความสวยงาม และมีคุณค่าของโครงการ โดยเป็นการกำหนดเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของโครงการ และความเป็นไปได้ในการออกแบบ โดยเน้นไปตามหลักและเหตุผลเป็นสำคัญ โดยการกำหนดแนวความคิดโครงการนั้น มีอยู่ด้วยกัน ดังนี้
1). แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Concept)
2). แนวความคิดด้านรูปแบบ (Form Concept)
3). แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Concept)
4). แนวความคิดด้านเทคโนโลยี (Technology Concept)
3.1 แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย (Function Concept)
แนวความคิดด้านหน้าที่ใช้สอย เป็นการกำหนดเรื่องความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ แต่ละ
ส่วนโดยจะมีการสอดแทรกเรื่องราวเนื้อหาของแต่ละองค์ประกอบและภาพรวม เพื่อให้สามารถนำ ไปใช้ในการกำหนดพื้นที่ให้มีความสอดคล้องกับกิจกรรมนั้นๆ โดยโครงการมีองค์ประกอบ ดังนี้  
โดยแต่ละส่วนจะมีการกำหนดแนวความคิดโครงการ (Programming Concept) ซึ่งมีดังนี้
1). แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)
2). แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
3). แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
3.1.1 ภาพรวมโครงการ (Overall Project)
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)
เป็นแนวความคิดที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการใช้สอย การสัญจร ขององค์ประกอบ
ในภาพรวมขององค์ประกอบโครงการทั้งหมด ซึ่งมีดังนี้

ภาพที่ 3.1 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ของภาพรวมโครงการ

ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบโครงการภาพรวม มีแนวความคิดในการแยกการใช้งาน
ของกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นลูกค้า และพนักงานออกจากกัน รวมไปถึงการเข้าออกโครงการ ของที่จอดรถด้วย โดยการเข้าถึงส่วนต่างๆภายในอาคาร และการสัญจรของลูกค้า จะมีลักษณะของการกระจายจากศูนย์กลาง คือ โถงสาธารณะกลางไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งส่วนต่างๆจะมีโถงย่อยในการรับจำนวนผู้ใช้ของแต่ละส่วนออกจากกันอีกทีหนึ่ง
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
เป็นการแยกประเภทและวิเคราะห์พฤติกรรมและกิจกรรมของผู้ใช้เพื่อนำไปกำหนด
รายละเอียดพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ซึ่งมีแนวความคิดดังนี้
1). การจัดกลุ่มกิจกรรม (Activity Grouping)
เนื่องจากมีกิจกรรมการใช้งานหลายรูปแบบ จึงมีการแบ่งกลุ่มรูปแบบการใช้กิจกรรม
ตามความเป็นส่วนตัวของกิจกรรมและการเข้าถึงกิจกรรมของอาคารหลักๆ 3 รูปแบบดังนี้

ภาพที่ 3.2 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มกิจกรรมภาพรวมโครงการ

·       พื้นที่สาธารณะ (Public Zone) เป็นส่วนที่ผู้ใช้ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงกิจกรรม
ได้เลย
·       พื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-Public Zone) เป็นส่วนที่บางส่วนอาจมีความเป็น
ส่วนตัว หรือการเข้าไปใช้กิจกรรมภายในพื้นที่อาจจะต้องมีการติดต่อ จึงจะเข้าไป
ใช้งานได้
·       พื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) คือส่วนขององค์ประกอบหลัก ที่ต้องมีการซื้อบัตร
จึงจะสามารถเข้าไปใช้งานในพื้นที่นั้นๆได้
การจัดกลุ่มกิจกรรม โดยการใช้ลักษณะทางกายภาพของอาคารมาแบ่งกลุ่ม โดยมา
จากความต้องการของกิจกรรมนั้นๆ คือการแบ่ง ส่วน Tower และ Podium โดยการแบ่ง
จะถูกนำเสนอในการวางผังทางเลือก (Zoning) โดยอาศัยปัจจัย ดังนี้
·       ส่วน Podium เน้นกิจกรรมที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เน้นการเข้าถึงง่ายของผู้ใช้
 ส่วน Tower เน้นความเป็นส่วนตัวของการใช้งาน การเข้าถึง และการมองเห็น

ภาพที่ 3.3 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มกิจกรรมภาพรวมโครงการ

2). ลำดับความสำคัญของกิจกรรม (Sequence of Activities)
ลำดับการใช้งานของผู้ใช้หลักโครงการในภาพรวม จะเข้าจากส่วนโถงสาธารณะ และ
จะแจกไปยังส่วนกิจกรรมต่างๆ โดยมีโถงย่อยของแต่ละกิจกรรมรองรับ

ภาพที่ 3.4 แสดงแนวคิดการลำดับความสำคัญของกิจกรรมภาพรวม

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
แนวความคิดระบบจัดการของโครงการ จะเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับหน้าที่ใช้สอยต่างๆ ที่
ไม่ใช่เทคโนโลยี โดยประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
1). ระบบบริการ (Service Management)
ลักษณะระบบบริการของโครงการจะเป็นการบริการแบบกระจาย (Decentralized
Service Grouping) เนื่องมาจากมีกิจกรรมที่หลากหลายและแต่ละส่วนต้องการ
การบริการเฉพาะ โดยจะมีศูนย์กลาง คือสำนักงานบริการ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานใน
ภาพรวมทั้งหมด
2). ระบบรักษาความปลอดภัย (Security Control)
ลักษณะการรักษาความปลอดภัยโครงการจะเน้นการใช้เทคโนโลยี กล้องวงจรปิด
(CCTV) เป็นหลัก เนื่องจากแต่ละกิจกรรม มีจำนวนคนจำนวนมาก รวมถึงเป็นลักษณะ
ของอาคารสูง โดยจะมีศูนย์กลางความปลอดภัยคอยดูแลส่วนนี้ และใช้ยามประจำ
จุดต่างๆ
3). ระบบการสัญจร (Circulation Systems)
เนื่องจากมีปริมาณผู้ใช้โครงการค่อนข้างมาก จึงต้องมีระบบการสัญจรที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งภาพรวมของโครงการแบ่งออกเป็น ดังนี้
·       การจัดการระบบการสัญจรระหว่าง กลุ่มลูกค้า กับกลุ่มพนักงานและเจ้าหน้าที่
ใช้งานเป็นเวลา เพื่อเป็นสัดส่วนและไม่ให้มาปะปนกัน
·       การจัดการระบบการสัญจรระหว่างรถยนต์และทางเดินเท้า เพื่อความ
ปลอดภัย จึงแบ่งระดับทางรถและทางเดินเท้าอยู่คนละระดับ
·       การจัดการระบบการสัญจรระหว่าง รถยนต์ของผู้ใช้โครงการ ลูกค้า กับรถยนต์
ของพนักงาน เจ้าหน้าที่ให้ใช้งานเป็นเวลา เพื่อเป็นสัดส่วนและไม่ให้เกิดการปะปนกัน
3.1.2 ส่วนหอชมเมืองสมุทรปราการ (Samutprakarn Observatory Tower Zone)
ส่วนหอชมเมืองสมุทรปราการ เป็นองค์ประกอบหลักของโครงการ โดยประกอบไปด้วย
ศูนย์กระจายคลื่นสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ หอชมเมืองสมุทรปราการ และภัตตาคารลอยฟ้า
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.5 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ส่วนหอชมเมืองสมุทรปราการ

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
1). การจัดกลุ่มกิจกรรม (Activity Grouping)
การแบ่งกลุ่มกิจกรรมของส่วนหอชมเมือง จะแบ่งตามลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น และ
ความเป็นส่วนตัวของกิจกรรม

ภาพที่ 3.6 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มกิจกรรม ส่วนหอชมเมืองสมุทรปราการ

2). ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
ส่วนศูนย์กระจายคลื่นสัญญาณวิทยุโทรทัศน์  ต้องการพื้นที่กิจกรรมในที่สูง เนื่องจาก
ความส่วนตัวของกิจกรรม ซึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่เท่านั้น และใกล้กับจุดสูงสุดของอาคาร
เพื่อประหยัดงานระบบที่เกี่ยวกับการสื่อสาร และส่งสัญญาณต่างๆ

ภาพที่ 3.7 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่ศูนย์กระจายคลื่นสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
ที่มา : https://www.google.co.th

ส่วนหอชมวิวเมืองสมุทรปราการ ต้องการพื้นที่กิจกรรมในที่สูง มีมุมมองที่ดีในทุกๆ
ด้าน เนื่องจากเป็นกิจกรรมการชมวิว ทิวทัศน์ของเมือง และการมีส่องกล้องสังเกตการณ์

ภาพที่ 3.8 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่ส่วนหอชมวิวเมืองสมุทรปราการ
ที่มา : https://www.google.co.th

ส่วนภัตตาคารลอยฟ้า ต้องการพื้นที่รับประทานอาหารที่มีความเป็นส่วนตัว และ
สามารถมองเห็นมุมมองที่ดีในมุมสูง

ภาพที่ 3.9 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่ภัตตาคารลอยฟ้า
ที่มา : https://www.google.co.th

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
1). ระบบการสัญจร (Circulation Systems)
การสัญจรส่วนกิจกรรมหอชมวิว เป็นระบบการสัญจร แบบตามลำดับ (Sequential
Flow) ไม่สามารถย้อนกลับได้ โดยเมื่อมีการใช้กิจกรรมส่วนนี้แล้ว จะต้องผ่านส่วนขาย
ของที่ระลึกก่อนออกจากส่วนของกิจกรรม ซึ่งบุคคลที่ไม่ได้เข้าชมกิจกรรมจะไม่สามารถ
ซื้อของที่ระลึกได้

ภาพที่ 3.10 แสดงแนวคิดระบบการสัญจรส่วนหอชมเมืองสมุทรปราการ

2). ระบบการจำหน่ายบัตรและจัดเก็บบัตรในการเข้าใช้บริการ (Ticketing)
ระบบจำหน่ายบัตร ถูกนำมาใช้กับส่วนกิจกรรมภายในอาคาร ซึ่งจะมีลักษณะของ
การจำหน่ายบัตรการเข้าใช้บริการ ในลักษณะหน้างานต้องมีพื้นที่สำหรับต่อแถว
รอซื้อบัตร โดยการเข้าใช้บริการ จะต้องผ่านการตรวจสอบบัตรจากเจ้าหน้าที่
3.1.3 ส่วนพิพิธภัณฑ์ (Museum Zone)
ส่วนพิพิธภัณฑ์ เป็นองค์ประกอบรองของโครงการ โดยประกอบไปด้วย พิพิธภัณฑ์เมือง
สมุทรปราการ และพิพิธภัณฑ์เด็ก
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.11 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ของส่วนพิพิธภัณฑ์

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
1). การจัดกลุ่มกิจกรรม (Activity Grouping)
การแบ่งกลุ่มกิจกรรมส่วนของพิพิธภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งแบ่งออกเป็น ส่วน
ของพิพิธภัณฑ์เด็ก และส่วนของพิพิธภัณฑ์เมืองสมุทรปราการ

ภาพที่ 3.12 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มกิจกรรมส่วนพิพิธภัณฑ์

2). ลำดับความสำคัญของกิจกรรม (Sequence of Activities)
การแสดงลำดับของกิจกรรม จะเป็นการแสดงแนวความคิดการเข้าใช้พื้นที่กิจกรรม
ของกลุ่มผู้ใช้ ลูกค้า โดยจะมีการแสดงถึงลำดับเรื่องราว การนำเสนอของแต่ละส่วน
การเข้าถึงของผู้ใช้ ส่วนพิพิธภัณฑ์ เป็นการเข้าถึงโดยต้องมีการซื้อบัตรเข้าชม

ภาพที่ 3.13 แสดงแนวคิดลำดับการเข้าถึงของผู้ใช้ ส่วนพิพิธภัณฑ์

3). ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
ภายในห้องส่วนจัดแสดงทั้งหมด ของส่วนพิพิธภัณฑ์ เป็นพื้นที่ที่ต้องใช้สื่อด้านแสง
มาใช้ ต้องเป็นลักษณะห้องทึบ จึงเป็นส่วนที่ไม่ต้องการแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในส่วนนี้
เนื่องจากมีผลต่อการจัดแสดงเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์

ภาพที่ 3.14 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่จัดแสดงส่วนพิพิธภัณฑ์

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
ระบบการเก็บของและการขนส่งของ (Store and Delivery System)
ระบบการเก็บของและขนส่งของส่วนพิพิธภัณฑ์ จะมีการขนส่งของจากส่วนบริการ
ของโครงการ ไปยังส่วนคลังพิพิธภัณฑ์ โดยมีเส้นทางการสัญจรแยกจากส่วนอื่น
3.1.4 ส่วนพาณิชยกรรม (Commercial Zone)
ส่วนพาณิชยกรรม เป็นส่วนสนับสนุนของโครงการ โดยประกอบไปด้วย ศูนย์อาหาร
ร้านค้า OTOP และ ห้องสมุดเมือง
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.15 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ของส่วนพาณิชยกรรม

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
1). การจัดกลุ่มกิจกรรม (Activity Grouping)
การแบ่งกลุ่มกิจกรรมของพาณิชยกรรม จะแบ่งตามลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น และความเป็นส่วนตัวของกิจกรรม

ภาพที่ 3.16 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มกิจกรรม ส่วนพาณิชยกรรม

2). ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
ส่วนห้องสมุดเมือง ต้องการพื้นที่ที่เงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว และมีอากาศถ่ายเทสะดวก โปร่ง สบายเหมาะสำหรับเป็นที่อ่านหนังสือ

ภาพที่ 3.17 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่ของกิจกรรม ห้องสมุดเมือง

ส่วนศูนย์อาหาร ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ สำหรับรองรับคนจำนวนมาก ส่วนร้านค้า
ภายในต้องสามารถเห็นได้ชัดเจนทุกร้าน โดยจัดวางในลักษณะของ ที่นั่งล้อมร้านค้า และ
ส่วนหนึ่งต้องการมุมมองที่ดี เพื่อเพิ่มคุณภาพที่ว่าง

ภาพที่ 3.18 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่ส่วนศูนย์อาหารและร้านค้าOTOP
ที่มา : https://www.google.co.th/

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
1). ระบบการสัญจร (Circulation Systems)
การสัญจรของส่วนร้านค้า จะเป็นลักษณะของทางเดินร่วม หรือ Double Corridor
เพื่อให้เห็นร้านค้าได้ทั่วถึงทั้งหมด ชัดเจน และเข้าถึงง่าย
2). ระบบการเก็บของและการขนส่งของ (Store and Delivery System)
ระบบการเก็บของส่วนร้านค้า และศูนย์อาหาร จะมีส่วนเก็บของภายในตัวร้านค้า ซึ่ง
การขนส่งจะใช้ช่วงเวลาที่ปิดโครงการในการขนส่ง
3.1.5 ส่วนสาธารณะ (Public Zone)
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.19 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ของส่วนสาธารณะ

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
พื้นที่ส่วนสาธารณะ มีลักษณะที่สมารถเชื่อมพื้นที่ว่างภายนอกกับภายในได้ ทำให้
รับรู้กิจกรรมระหว่าง 2 พื้นที่ได้และมีการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้กับส่วน โถงสาธารณะ
ต่างๆ เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานในตอนกลางวัน และเป็นการสร้างบรรยากาศให้กับ
โถงสาธารณะด้วย
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
ระบบการสัญจร (Circulation Systems)
ระบบการสัญจรของส่วนสาธารณะเป็นลักษณะแบบกระจาย (Distributed Flow)
โดยมีโถงสาธารณะเป็นศูนย์กลางกระจายไปยังโถงย่อยของส่วนต่างๆ

ภาพที่ 3.20 แสดงแนวคิดระบบการสัญจร ส่วนสาธารณะ

3.1.6 ส่วนบริหาร (Administration Zone)
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.21 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ส่วนบริหาร

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
1). ลำดับความสำคัญของกิจกรรม (Sequence of Activities)
การเข้าทำงานของพนักงานและเจ้าหน้าที่ จะมาจากส่วนที่จอดรถของพนักงาน โถง
ทางเข้าสำนักงาน ลงเวลา และเข้าส่วนที่ทางานตามลำดับ

ภาพที่ 3.22 แสดงแนวคิดลำดับความสำคัญส่วนบริหาร

2). ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
ส่วนทำงานของส่วนบริหาร เป็นลักษณะของการทำงานเป็นพื้นที่รวมโดยแยกเป็น
พื้นที่ตามฝ่ายแผนก เป็นส่วนใหญ่ โดยลักษณะบริเวณส่วนทำงานเน้นแสงธรรมชาติเข้า
มาบางส่วน เพื่อลดการใช้พลังงานลง

ภาพที่ 3.23 แสดงลักษณะแนวคิดความต้องการพื้นที่ส่วนบริหาร
ที่มา : https://www.google.co.th/

3.1.7 ส่วนบริการอาคาร (Service Zone)
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.24 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์พื้นส่วนบริการ

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
1). ลำดับความสำคัญของกิจกรรม (Sequence of Activities)
การเข้าทำงานของพนักงาน จะมาจากส่วนที่จอดรถของพนักงาน โถงทางเข้าส่วน
บริการอาคาร ลงเวลา และเข้าส่วนที่ทำงานตามลำดับ

ภาพที่ 3.25 แสดงแนวคิดลำดับความสำคัญของกิจกรรมส่วนบริการ

2). ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
ส่วนห้องปฏิบัติการต้องการความเป็นส่วนตัว เจ้าหน้าที่เท่านั้นสามารถเข้าใช้ได้
ต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการทำงาน
3.1.8 ส่วนจอดรถ (Parking Zone)
ส่วนจอดรถของโครงการมีลักษณะเป็นลานจอดรถ โดยมีการแยกส่วนการใช้งานออก
จากกัน คือ ส่วนที่จอดรถโครงการ ส่วนที่ และส่วนที่จอดของพนักงาน บริการ และเจ้าหน้าที่
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ (Relationships)

ภาพที่ 3.26 แสดงแนวคิดความสัมพันธ์ของส่วนจอดรถ

แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม (Activities)
1). การจัดกลุ่มกิจกรรม (Activity Grouping)
การจัดกลุ่มของส่วนจอดรถ จะเป็นลักษณะของการรองรับการใช้งานของแต่ละส่วน
โดยอิงจากกลุ่มผู้ใช้ส่วนนั้น (Separated Parking) ประกอบไปด้วย
·       ส่วนโครงการ รองรับกลุ่มผู้ใช้ลูกค้าภาพรวมทั้งโครงการ มีพื้นที่สาหรับ รถยนต์
รถบัส รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน จุดรับส่ง (Drop Off) และเรียก Taxi
·       ส่วนพนักงาน เจ้าหน้าที่ รถบริการ รองรับกลุ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มา
ติดต่อโครงการ โดยมีพื้นที่สาหรับ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถขนส่งของ รถขนขยะ ซึ่งการกำหนดส่วนที่จอดรถ มีผลต่อทางเข้าหลักของแต่ละส่วนของโครงการด้วย

ภาพที่ 3.27 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มกิจกรรม ส่วนจอดรถ

2). ความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรม (Activity Requirement)
ลักษณะส่วนจอดรถจะเป็นลานจอดกลางแจ้ง โดยมีการเพิ่มคุณภาพที่ว่าง โดยใช้การ
สร้างร่มเงาจากต้นไม้ และยังเป็นการการสร้างทัศนียภาพให้เหมือนการจอดรถในสวน
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ (Operations)
ระบบจราจร (Traffic System)
ระบบการจราจรของส่วนจอดรถ จะเป็นลักษณะของ Two-Way Traffic เนื่องจาก
สามารถควบคุม การเข้าและออก ได้ง่าย
3.2  แนวความคิดด้านรูปแบบ (Form Concepts)
แนวความคิดด้านจินตภาพ (Image Concepts)
3.2.1 จินตภาพภายนอก (External Image)
เป็นลักษณะที่ปรากฏภายนอกอาคาร เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์แนวความคิด และ
วิธีการจัดการ การออกแบบ ซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้
1).  รูปร่าง/รูปทรงอาคาร (Configuration/Form)
เป็นลักษณะของรูปทรง ที่เกิดจากเอกลักษณ์ของที่ตั้ง ซึ่งสะท้อนออกมาในลักษณะ
ของงานสถาปัตยกรรมโดยมีลักษณะของสถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ในแนวตั้ง (Vertical Landmark) ด้วยการใช้งานหลักของโครงการ รวมไปถึงตัวอาคาร เพื่อโดยเป็นการสร้างความรู้สึก ในการจดจำงานสถาปัตยกรรมและเอกลักษณ์ของที่ตั้งได้ และเพื่อได้ประโยชน์ในการมองเห็นโครงการ และเชื้อเชิญ (Approach & Invitation)
2). ลักษณะ (Characteristic)
ลักษณะงานสถาปัตยกรรมแสดงถึงความเป็นสมัยนิยม (Trend) เป็นสากลแต่ยังคง
ความเป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ที่ตั้ง และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับสถาปัตยกรรมโครงการเองด้วย

ภาพที่ 3.28 แสดงจินตภาพภายนอกเรื่องรูปร่าง/รูปทรงอาคาร และลักษณะ

3).  รูปแบบ & สไตล์ (Style)
สไตล์ของงานเป็น รูปแบบสถาปัตยกรรมในอนาคต (Futurism Architecture)
เพื่อให้เกิดความทันสมัย แต่ยังคงแฝงไปด้วยสไตล์ความเป็นไทยเข้าไป เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และดูไม่ล้าสมัย

ภาพที่ 3.29 แสดงจินตภาพภายนอกเรื่องรูปแบบ และสไตล์

3.2.2 จินตภาพภายใน (Internal Image)
เป็นลักษณะที่ปรากฏภายในอาคาร โดยมีการพิจารณาเรื่อง ดังนี้
1). ลักษณะและคุณภาพของที่ว่าง (Character and Quality of Space)
ที่ว่างภายในอาคารมีลักษณะ ความรู้สึกต่อที่ว่าง และการรับรู้เชื่อมต่อกับ
แนวความคิดที่ว่าง และลักษณะทางกายภาพภายนอก มีการเชื่อมโยงกิจกรรมภายนอกและภายใน

ภาพที่ 3.30 แสดงจินตภาพภายใน เรื่องลักษณะและคุณภาพของที่ว่าง

2). การใช้แสงในโครงการ (Lighting)
มีการใช้แสงที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละส่วน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้
งานที่ว่าง และสร้างคุณภาพ ความสวยงามให้กับที่ว่าง รวมไปถึงการคำนึงถึงสภาพ ทิศทางของแสง เพื่อให้เกิดนามาใช้ประโยชน์ โดยประหยัดพลังงาน

ภาพที่ 3.31 แสดงจินตภาพภายใน เรื่องการใช้แสง

3). จังหวะ หรือลำดับ (Rhythm/Order/Hierarchy)
การใช้ลักษณะองค์ประกอบในกิจกรรมภายในที่ว่าง ให้เกิดลำดับการใช้งานในแต่ละ
ส่วน เนื่องจากโครงการมีรูปแบบการใช้งานที่หลายประเภท และใช้ที่ว่างที่เป็นลักษณะส่วนกลางเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของที่ว่าง ขนาดที่แตกต่างกัน หรือกิจกรรมภายใน หรือใช้จุดอ้างอิงต่างๆ (Point of Reference) เพื่อให้เกิดการรับรู้การใช้งาน และกำหนดทิศทางในการใช้งาน

3.3 แนวความคิดด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic Concepts)
3.3.1 ประสิทธิภาพอาคาร (Building Efficiency)
                                                คือ การกำหนด พื้นที่สุทธิ ต่อ พื้นที่สนับสนุนอาคาร
1). พื้นที่ใช้งานสุทธิ (Assignable Area) คือพื้นที่รวมของทุกๆพื้นที่ใช้สอยที่
ต้องการตามโปรแกรม
2). พื้นที่สนับสนุน (Unassigned Area) คือพื้นที่ที่นอกเหนือจากพื้นที่ใช้งาน
โดยเฉพาะพื้นที่ทางสัญจร ห้องเครื่อง ห้องน้ำส่วนรวม ห้องเก็บของผนังกั้นต่างๆ โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถซึ่งแตกต่างไปตามกฎหมายของแต่ละท้องที่ และพื้นที่ใช้งานภายนอก (Outdoor Space) เพราะถือเป็นพื้นที่ใช้งานแต่อยู่ภายนอกอาคาร
3). สัดส่วนประสิทธิภาพของอาคาร (Efficiency Ratio)คือสัดส่วนร้อยละของพื้นที่สนับสนุนต่อพื้นที่ใช้งานสุทธิ มีระดับโดยทั่วไปอยู่ 3 ระดับ คือ
·       ระดับดีมาก อัตราส่วน 40 – 50 % ของพื้นที่ทั้งหมด
·       ระดับปานกลาง อัตราส่วน 30 % ของพื้นที่ทั้งหมด
·       ระดับประหยัด อัตราส่วน 20 % ของพื้นที่ทั้งหมด

ตาราง 3.1 แสดงประสิทธิภาพอาคารสัดส่วนพื้นที่สุทธิ : พื้นที่สัญจร
ที่มา : หนังสือการจัดทาโครงการทางสถาปัตยกรรม โดย ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ และ ดร. อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์

3.3.2 คุณภาพอาคาร (Building Quality)
คุณภาพของอาคารสามารถบอกด้วยราคาค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร ซึ่งโดยทั่วไป
รวมถึงงานสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาลแต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์พิเศษที่ติดตั้ง สาหรับอาคารเพื่อการศึกษามีการประเมินค่าก่อสร้าง ดังนี้
1). ระดับประหยัด ราคาค่าก่อสร้าง 8,000 บาท/ตารางเมตร
2). ระดับปานกลาง ราคาค่าก่อสร้าง 10,000 บาท/ตารางเมตร
3). ระดับดีมาก ราคาค่าก่อสร้าง 15,000 บาท/ตารางเมตร
3.4 แนวความคิดด้านเทคโนโลยี (Technology Concepts)
3.4.1 ระบบอาคาร (Building Systems)
เป็นงานระบบพื้นฐานของโครงการ ที่ได้ทำการศึกษารายระเอียด และสรุปเนื้อหาเพื่อให้
เป็นตัวเลือกในการใช้กับโครงการตามความเหมาะสมต่อไป มีดังนี้
3.4.2ระบบโครงสร้าง (Structure)
1). ระบบชิ้นส่วนโครงสร้างอาคารสำเร็จรูป (Prefabrication System)
โดยเป็นรูปของชิ้นส่วนจากโรงงาน ซึ่งง่ายต่อการก่อสร้าง และประหยัดระยะเวลา
และคนงานในการก่อสร้าง โดยจากกรณีศึกษาส่วนใหญ่ มีการใช้ระบบนี้ โดยเฉพาะระบบชิ้นโครงสร้างเหล็ก ซึ่งเหมาะกับส่วนโครงสร้างสาหรับอาคารสูง
2). ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete)
จากกรณีศึกษา จะใช้ในส่วนของฐานรากและส่วนที่ติดกับพื้นดิน เนื่องจากช่วย
ป้องกันเรื่องของความชื้นได้ดี รวมไปถึงใช้เป็นแกนของอาคารสูง ซึ่งได้ผลดีกว่าโครงสร้างเหล็กเนื่องจาก กรณีศึกษาส่วนใหญ่จะมีการวางห้องน้ำ หรือส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับงานระบบสุขาภิบาล
3). ระบบโครงสร้าง Long Span
เนื่องจากโครงการมีการใช้งานหน้ากว้าง หลายการใช้งาน จึงมีการคำนึงโครงสร้างที่มารองรับส่วนที่เป็นหลังคา ที่มีความกว้างโดยกรณีศึกษา มีการใช้หลายรูปแบบ เช่นระบบ Truss หรือระบบโครงข้อหมุนสามมิติ Space Frame
3.4.3          ระบบปรับอากาศ (Air-Conditioning)
1). ระบบปรับอากาศ Central System
เหมาะสมกับโครงการ เครื่องอยู่รวมในจุดเดียวกัน ง่ายต่อการดูแลรักษา ไม่มีเสียง
บริเวณปรับอากาศ แต่เสียค่าใช้จ่ายต้นทุนและการดูแลสูง โดยมี 2 ระบบ คือระบายความร้อนด้วยน้ำและระบายความร้อนด้วยอากาศ
2). ระบบปรับอากาศ VRV System
หรือระบบ Variable Refrigerant Volume ระบบปรับอากาศชนิดนี้ คือระบบปรับอากาศแบบ Split Type ขนาดใหญ่โดยคงส่วนดีของระบบ Split Type เดิมไว้ แล้วเพิ่มระบบอีกหลายอย่างเข้าไป เพื่อให้ระบบนี้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานสะดวก และ ยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าระบบ Sprite Type เดิม มีการพัฒนาให้ท่อน้ำยาเดินไปได้ไกลขึ้น

ภาพที่ 3.33 แสดงระบบปรับอากาศ VRV System
ที่มา : สื่อนาเสนอการสอนวิชา ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อม โดย ดร.ไพกานท์ รักษาสุทธิพันธ์

3.4.3          ระบบไฟฟ้ากำลังและสำรอง (Electricity)
1). ระบบไฟฟ้ากาลังแบบ Sub-Station
เป็นระบบที่เหมาะสมกับโครงการที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก และระบบนี้สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย เพราะเป็นของเฉพาะที่ใช้ในโครงการ
2). ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
มีอยู่ด้วย 2 ระบบ คือ ระบบดีเซล เหมาะกับระบบไฟฟ้าสำรองของโครงการทั้งหมด
ไปยังส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัย และระบบป้องกันอัคคีภัยของโครงการ และระบบแบตเตอรี่ ใช้กับระบบแสงสว่าง ชั่วคราวขณะไฟดับ แต่ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณส่วนสำคัญ
3.4.5  ระบบสุขาภิบาล (Sanitary)
1). ระบบน้ำประปา
เป็นระบบ Up and Down Feed System โดยเป็นระบบผสมกัน เพื่อความสมบูรณ์
และสะดวกสบายต่อระบบจ่ายน้ำของทั้งโครงการ เพราะระบบนี้จะมีถังเก็บน้ำ 2 จุด ทั้งบนอาคารและใต้อาคาร เนื่องจากอาคารมีลักษณะขนาดใหญ่ประกอบกับมีความสูงของการใช้งานประกอบด้วย นอกจากนั้นยังมีระบบการทาน้ำอุ่น ในส่วนของห้องพักโครงการซึ่งเป็นระบบทาน้ำอุ่นรวม
2). ระบบบำบัดน้ำเสีย
เป็นระบบ Aerobic Treatment เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับโครงการมากที่สุด
เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ใช้เนื้อที่ในการก่อสร้างน้อย โดยเหมาะสมกับอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง โดยมีหลักการคือการเติมจุลชีพลงไป เพื่อย่อยสลายอินทรีย์ในน้ำเสียที่เป็นตะกอนโดยเครื่องเติมอากาศทำงานตลอดเวลาโดยน้ำเสียที่บำบัดแล้วจะไหลลงสูท่อสาธารณะ
3.4.6 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication System)
1). ระบบโทรศัพท์
PABX เป็นระบบที่นำมาใช้ภายในองค์กรของโครงการและห้องพัก เนื่องจากเป็น
ระบบที่เป็นการจำลองชุมสายโทรศัพท์ และกระจายตามหน่วยย่อยภายในโครงการ ซึ่งจะเป็นการจัดการควบคุมส่วนต่างๆของโครงการ และประหยัดกว่าระบบโทรศัพท์ปกติ
2). ระบบอินเตอร์เน็ต
โดยโครงการจะเป็นการใช้ระบบไร้สาย Internet-Wireless ซึ่งครอบคลุมในระยะ
สัญญาณในระยะใกล้ และมีการควบคุมสัญญาณได้ ประหยัดการใช้สายสัญญาณ และการดูแลรักษา เน้นการใช้งานภายในองค์กร และห้องพักลูกค้า และระบบ Wi-Fi สำหรับการกระจายสัญญาณระยะไกล ครอบคลุมโครงการและบริเวณโดยรอบ โดยควบคลุมจากศูนย์บริการโทรคมนาคมสื่อสารของโครงการ โดยเน้นการบริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยรอบ
3). ระบบกระจายเสียง
โดยเป็นการกระจายเสียงไปยังส่วนต่างๆ โดยมาจากส่วนประชาสัมพันธ์ เพื่ออำนวย
ความสะดวกด้าน การประกาศข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ แก่คนในองค์กรและกลุ่มผู้ใช้โครงการ
                        3.4.7  เทคโนโลยีพิเศษ (Specific Technology)
โดยโครงการมีการใช้เทคโนโลยีเฉพาะหลายรูปแบบ ซึ่งมีการใช้งานเทคโนโลยีที่สำคัญ
และต้องมีการศึกษารายละเอียดเทคโนโลยีดังกล่าว
1). ระบบการกระจายคลื่นสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
(Television Signal Distribution System)
ICS Telecom nG เป็นโปรแกรมสำหรับการวางแผนโครงข่ายโทรคมนาคมหรือ
โครงการทางด้านการออกอากาศวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ทั้งระบบอนาล็อกและ
ดิจิตอล โดยโปรแกรมมีความสามารถในการคำนวณและวางแผนการแพร่กระจาย
คลื่นสัญญาณ รวมทั้งจำลองการใช้งานสัญญาณความถี่ในการออกอากาศ หรือใช้
วางแผนภายในโครงการสื่อสารโทรคมนาคมความสามารถในการใช้งานด้านการ
ออกอากาศวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
·      สามารถคำนวณพื้นที่การออกอากาศวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
ระบบอนาล็อกและดิจิตอล
·       ใช้ในการจำลองการออกอากาศเพื่อนำข้อมูลไปออกแบบรูปแบบการกระจาย
คลื่นของสายอากาศให้เหมาะสมต่อพื้นที่บริการ
·       ใช้ในการคำนวณหาการรบกวนที่มีผลต่อผู้ชมหรือผู้ฟัง อันเกิดจากการ
ออกอากาศของช่องความถี่เดียวกันหรือช่องความถี่ข้างเคียง
·       ใช้ในการประมาณการจำนวนผู้ชมที่อยู่ในเขตบริการของสถานี
·      เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารในการประกอบการยืนยันการ
ขออนุญาตการจัดตั้งสถานี
2). ระบบผนังสื่อ (Media Wall)
LED Wall ผนังสื่อจากหลอด LED ซึ่งมีการควบคุมลักษณะของภาพที่นำเสนอผ่าน
ระบบคอมพิวเตอร์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น